ขัตติยพันธกรณี
ขัตติยพันธกรณี
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ที่มา
นับตั้งแต่ยุคการล่าอาณานิคมหรือลัทธิจักรวรรดินิยมได้เริ่มถือกำเนิดขึ้น ไม่ว่าจะประเทศไหนหรือพื้นที่ใด ๆ บนโลกใบนี้ก็ล้วนตกอยู่ในเงื้อมมือของประเทศมหาอำนาจ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ในช่วงยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น การคุกคามของฝรั่งเศสและอังกฤษได้แผ่ขยายเข้ามายังประเทศไทยและแข่งขันกัน แสวงหาผลประโยชน์จากประเทศไทยต่าง ๆ นานา จนสุดท้ายก็เกิดเหตุการณ์ที่เกือบทำให้ประเทศไทยต้องเกือบเสียเอกราชไป
เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า เหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งจุดเริ่มต้นนั้นเกิดจากความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนทางด้านหลวงพระบางและมีการกระทบกระทั่งกันของกำลังทหารทั้งสองฝ่ายและต่อมาได้ ขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ปัญหาที่ไม่รู้จบครั้งนี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยจนกระทั่งวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒ กองเรือรบของ ฝรั่งเศสได้รุกล้ำเข้ามายังปากแม่น้ำเจ้าพระยาและเกิดการปะทะกันที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทร จนสุดท้ายแล้วเรือรบฝรั่งเศส ๒ลำได้ล่องมาทอดสมอหน้าสถานฑูตฝรั่งเศสได้สำเร็จพร้อมกับยื่นข้อเรียกร้อง หลายประการ
เช่น การเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนและการเรียกค่าปรับจากรัฐบาล
พอเมื่อรัฐบาลตอบล่าช้า เรือรบ ฝรั่งเศสก็ได้ทำแล่นมาปิดอ่าวไทยประกอบกับการที่ประเทศอังกฤษไม่ให้การสนับสนุน
จึงทำให้ไทยต้องยอมลงนามใน สนธิสัญญากรุงเทพในวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งทำให้นั้นต้องเสียสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและอำนาจการปกครองชาวอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดจันทบุรีที่ถูกฝรั่งเศสยึดไว้เป็นตัวประกัน
นอกจากนั้นยังมีการเตรียม แผนการที่จะยึดยึดครองดินแดนอื่นๆอีกของไทยอีกด้วย จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงงานอย่างหนักเพื่อแสวงหาวิธีต่างๆ มากมาหยุดยั้งอำนาจของฝรั่งเศสและรักษาเอกราชของไทยไว้
สุดท้ายแล้วนั้นพระองค์ก็ทรงสามารถนำพาประเทศ ชาติให้หลุดพ้นจากวิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่มาได้แม้ว่าจะต้องแลกด้วยดินแดนบางส่วนก็ตาม
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ในช่วง ร.ศ.๑๑๒ นั้นถือว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งใหญ่
หากถ้าไม่ได้พระปรีชาความสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเทศไทยก็อาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสได้ แต่ทว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ส่งผลให้อาการ ประชวรของพระองค์ทรุดหนักลงมากกว่าเดิมเนื่องจากเป็นโรคพระหทัยมาก่อนแล้วประกอบกับทรงเกิดความทุกข์ โทมนัสและตรอมพระทัย
นั่นทำให้พระองค์ทรงหมดกำลังพระทัยที่จะดำรงพระชนม์ชีพต่อไป จึงหยุดเสวยพระโอสถ และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทโคลงและฉันท์ขึ้นบทหนึ่งเพื่อทรงลาเจ้านายพี่น้องของพระองค์
เช่น พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีและพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) และทั้งสองนั้นก็ ทรงพระนิพนธ์ถวายบทตอบ
(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
(ขวา) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
บทพระราชนิพนธ์และบทนิพนธ์นี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเขียนตอบ เริ่มจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นเรื่องราวของพระองค์ ณ
เวลานั้น การเข้ามาของฝรั่งเศสได้สร้างความกังวลพระหฤทัยเป็นอย่างมาก ประกอบกับอาการประชวรจึงทำให้บทพระราชนิพนธ์นี้เปรียบเสมือนการบรรยายความทุกข์ ความสิ้นหวังและความกังวลของพระองค์ หลังจากจบบทพระราช-นิพนธ์ก็ต่อด้วยบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมีรูปแบบลักษณะของการถวายกำลังพระทัย ซึ่งอยู่ในส่วนแรก
ถัดมาเป็นการให้ข้อคิดโดยการใช้อุปมา ต่อจากการให้ข้อคิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอาสาจะถวายชีวิตรับใช้และต่อสู้กับปัญหาที่เผชิญ
สุดท้ายพระนิพนธ์จบลงด้วยการถวายพระพรและคำยืนยันถึงความจงรักภักดีที่ประชาชนไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทเจรจา
ในส่วนแรกเป็นการบรรยายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระองค์ท่านมีความกังวล
พระหฤทัยในอาการประชวรดังบทกลอนที่ว่า
“ เป็นเป็นฝีสามยอดแล้ว ยังราย ส่านอ
ปวดเจ็บใครจักหมาย เชื่อได้
ใช่เป็นแต่ส่วนกาย เศียรกลัด กลุ้มแฮ
ใคร่ต่อเป็นจึ่งผู้ นั่นนั้นเห็นจริง ”
จากนั้นเป็นการเล่าถึงภาระหน้าที่ที่เหมือนตะปูตอกยึดให้พระองค์ต้องปกป้องบ้านเมืองเอาไว้ในฉากนี้ทรงใช้
ภาพพจน์ประเภทอุปลักษณ์ดังในคำประพันธ์
“ ตะปูดอกใหญ่ตรึง บาทา อยู่เฮย
จึงบ่อาจ คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา แก่สัตว์ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอันขยม ”
ในส่วนที่สองของบทพระนิพนธ์นั้นบทเจรจานั้น จะเริ่มต้นด้วยการกังวลพระทัยในอาการประชวรของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังในคำกลอนที่ว่า
“ อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม
เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปมา ”
นอกจากนั้นบทถวายข้อคิดถือนับว่าเป็นส่วนสำคัญในบทพระนิพนธ์เพราะเป็นการให้ข้อคิดที่ลึกซึ้ง เนื้อความว่าไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดก็มักจะพบพานอุปสรรคเสมอ แต่ขอเพียงแต่ไม่ย่อท้อและลุกขึ้นสู้ปัญหานั้นก็จะมลายหายไป แต่ถ้าเกิดไม่คิดจะลุกสู้ก็นับว่าขี้ขลาด
“ ธรรมดามหาสมุทร มีคราวหยุดพายุผัน
มีคราวสลาตัน ตั้งระลอกกระฉอกฉาน
ผิวพอกำลังเรือ ก็แล่นรอดไม่ร้าวราน
หากกรรมจะบันดาล ก็คงล่มทุกลำไป
ชาวเรือก็ยาอมรู้ ฉะนี้อยู่ทุกจิตต์ใจ
แต่ลอยอยู่ตราบใด ต้องจำแก้ด้วยแรงระดม
แก้รอดตลอดฝั่ง จะรอดทั้งจะชื่นชม
เหลือแก้ก็จำจม ให้ปรากฏว่าถึงกรรม
ผิวทอดธุระนิ่ง บ วุ่นวิ่งเยียวยาทำ
ที่สุดก็สูญลำ เหมือนที่แก้ไม่หวาดไหว
ผิดกันแต่ถ้าแก้ ให้เต็มแย่จึงจมไป
ใครห่อนประมาทใจ ว่าขลาดเขลาและเมาเมิน ”
อ้างอิง http://tharinsaelow.weebly.com/uploads/4/5/9/8/45985331/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น